Dark Mode :

(+66) 34 886148 156
Text Size :
TH EN

Lighting in Poultry Production

          แสงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและส่งผลต่อด้านการให้ผลผลิตของสัตว์ปีก สัตว์ปีกมองเห็นและรับรู้แสงได้ต่างกัน อีกทั้งแสงยังมีผลต่อสวัสดิภาพของสัตว์และการให้ผลผลิต โดยทั้งสองอย่างนี้อมีความเกี่ยวข้องกับอิทธิพลจากแสง ในระบบโรงเรือนสัตว์ปีก แสงส่งผลต่อพฤติกรรม การเจริญเติบโต สุขภาพ ประสิทธิภาพการผลิต การสืบพันธุ์ และสวัสดิภาพของสัตว์ปีก ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับแสงต่อสัตว์ปีก เช่น แหล่งกำเนิดแสง ระดับความเข้ม ระยะเวลา (ช่วงแสง) และสี (ความยาวคลื่น) ดังนั้นแสงในระบบโรงเรือนสัตว์ปีกจึงมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสวัสดิภาพของสัตว์ (Lewis and Morris, 1998; Wineland, 2002)
          สัตว์ปีกมีความไวเชิงสเปกตรัม (spectral sensitivity) มากกว่าของมนุษย์ และสัตว์ปีกสามารถเห็นแสงสเปกตรัม UV ซึ่งแสง UV ประกอบด้วยความยาวคลื่นที่สั้นกว่า (100–400 นาโนเมตร) การรับรู้ภาพของเลนส์ตาของสัตว์ปีกต่อรังสีระหว่าง 320 และ 400 นาโนเมตร ช่วยให้พวกมันมองเห็นแสง UVA (Govardovskii and Zueva, 1977; Hart et al., 1999; Hunt et al., 2009) สเปกตรัมรังสี UVA ที่รับรู้จากเรตินาในสัตว์ปีกยังถูกส่งไปยัง ต่อมไพเนียล (Pineal gland) ที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน (Rosiak and Zawilska, 2005)

          สัตว์ปีกรับรู้สีความเข้มแสงที่ต่ำได้ดี รับรู้สีเป็นสิ่งสำคัญ ในตาไก่มี retina และมีตัวรับแสง (photoreceptors) โดยแบ่งเป็นชนิด cones 85% และ rods 15% ซึ่งในมนุษย์มี cones 5% และ rods 95% นั่นเป็นเหตุผลที่ไก่สามารถรับรู้สีได้ด้วยความเข้มแสง 8 ลักซ์ ผู้คนเริ่มรับรู้สีที่ 20 ลักซ์

          ช่วงความยาวแสงที่สั้น UV (320 และ 400 นาโนเมตร) จะช่วยในกระบวนการสังเคราะห์วิตามินดี กระตุ้นการกินได้ การเจริญเติบโต และระบบภูมิคุ้มกัน ส่วนช่วงความยาวแสงที่ยาว (700 นาโนเมตร) จะกระตุ้นฮอร์โมนเพศ ช่วยระบบการสืบพันธุ์ เพิ่มผลผลิตไข่ และกระตุ้นพฤติกรรมสัตว์ (El-Sabrout et al., 2022)
สเปกตรัมแสง (light spectrum) 
          ประสิทธิภาพการให้ผลผลิตและการสืบพันธุ์ของไก่ไข่ ขึ้นอยู่กับระยะเวลา ความเข้ม และคุณภาพของแสง ดังนั้นโปรแกรมการให้แสงจึงมีความสำคัญต่อการผลิตไก่ไข่ ปัจจุบันสามารถใช้ไฟ LED ที่ปล่อยแสงสีแดง น้ำเงิน หรือเขียว และสีขาว มีสเปกตรัม 400–700 นาโนเมตร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้ผลผลิต (England and Ruhnke, 2020) ผลของแสงต่อประสิทธิภาพการให้ผลผลิตไข่ พบว่าแสงสีแดงความยาวคลื่นแสง 618-660 ให้ผลผลิตไข่สูงกว่าแสงสีเขียว น้ำเงิน และขาว อย่างไรก็ตามในด้านคุณภาพไข่ยังสรุปไม่ได้ว่าแสงสีใดและความยาวคลื่นแสงเท่าไรมีผลต่อคุณภาพไข่ ดังตารางที่ 1 .
 

ตารางที่ 1. ผลของสเปกตรัมแสง (light spectrum) ต่อสมรรถนะการให้ผลผลิตและพฤติกรรมของไก่ไข่

พารามิเตอร์ แสงสีแดง แสงสีเขียว     แสงสีฟ้า

ระบบสืบพันธุ์และการให้ผลผลิตไข่

↑ความสมบูรณ์พันธุ์

↑ผลผลิตไข่

↑การผสมติด

↓ระบบการสืบพันธุ์ 

↓ผลผลิตไข่

↓ผลผลิตไข่

ขนาดและคุณภาพไข่

↓น้ำหนักไข่ หลังจากอายุ 30 สัปดาห์

↑น้ำหนักไข่

↑ความหนาเปลือกไข่เมื่อเทียบกับสีฟ้าและแดง

↑ความแข็งแรงเปลือกไข่เมื่อเทียบกับสีขาวและฟ้า

↑น้ำหนักไข่

↓ความยาวไข่ เมื่อเทียบกับสีอื่นๆ

↓ความกว้างไข่ เมื่อเทียบกับสีขาว

พฤติกรรม

↓กระวนกระวายเมื่อเทียบกับแสงสีขาวและไม่มีการจิกขนกัน

↓เวลาการให้อาหารเมื่อเทียบสีขาวและแดง

↑การหาอาหารเมื่อเทียบสีแดง

↑การจิกกันเมื่อเทียบสีขาว

สัตว์อยู่สงบกว่าแสงสีอื่นๆ

ที่มา: Bédécarrats and Hanlon (2017); Baxter et al. (2014); Wang et al. (2007); Huber-Eicher et al. (2013); Li et al. (2014)

 

          ปัจจัยแสงจึงมีความสำคัญอย่างการเจริญเติบโต สุขภาพ ประสิทธิภาพการผลิต การสืบพันธุ์ และสวัสดิภาพของสัตว์ปีก ปัจจุบันแหล่งกำเนิดแสงจากหลอด LED มีประสิทธิภาพและความยาวคลื่นแสงสูง อีกทั้งงานวิจัยในปัจจุบันพบว่าแสงสีแดงช่วยด้านระบบสืบพันธุ์และการให้ผลผลิตไข่