Dark Mode :

(+66) 34 886148 156
Text Size :
TH EN

2024-01-23

การเตรียมลักษณะน้ำก่อนปล่อยกุ้ง

          บทเรียนจากความผิดพลาดจากการเลี้ยงกุ้งตั้งแต่ปี 2554 ได้มาตลอด จนประสบปัญหาจากการเลี้ยงเมื่อปี 2557 จากที่ปล่อยกุ้ง 120,000 ตัว/ไร่ เลี้ยงกุ้งได้ประมาณ 40 วัน เจอปัญหากุ้งป่วย ร่วงระหว่างการเลี้ยง สาเหตุมาจากลักษณะน้ำเปลี่ยนแปลงมาก เช่น ค่า pH ช่วงเช้า และ บ่าย ค่อนข้างแตกต่างกันมาก 
บวกกับให้อาหารกุ้งมาก เพราะเห็นว่ากินดี พยายามแก้ค่า pH ให้ลดลง ก็ยังไม่ได้ แถมกุ้งยังร่วง ป่วยไม่หยุด จึงได้ตัดสินใจปล่อยปลานิลหมันขนาด 10 ตัว/กก. ลงไปประมาณ 5,000 ตัว ในบ่อที่กุ้งป่วย เพื่อตั้งใจจะเลี้ยงปลาขาย ให้ขาดทุนจากการเลี้ยงกุ้งน้อยที่สุด

 

สิ่งที่ได้จากการปล่อยปลาลงบ่อ
          1. ลักษณะน้ำเริ่มได้อย่างที่ต้องการ
          2. กุ้งหยุดร่วงหลังจากปล่อยปลาไป 7-10 วัน
          3. กินเริ่มกินอาหารดีขึ้น
          4. ประเมินอัตรารอด จากการกินอาหารของกุ้ง จาก 25 กิโลกรัม ที่อายุ 40 วัน เพิ่มเป็น 130 กิโลกรัม ที่อายุ 115 วัน

          เมื่อได้แนวทางการแก้ไขความผิดพลาดที่กุ้งป่วย ด้วยการปล่อยปลา จึงกลับมาคิดว่า จะทำอย่างไรให้ลักษณะน้ำก่อนปล่อยกุ้งให้เหมือนน้ำในบ่อปลา เพราะจากการสังเกตุจาก น้ำในบ่อปลาไม่เคยดร๊อบ สีน้ำไม่เคยล้ม จะออกนัวๆตลอดระยะการเลี้ยง

แนวความคิดที่ได้จากลักษณะน้ำที่ได้
          - ปลาตีแปลงหรือตีหลุม(หลักการลากโซ่)
          - ปลาช่วยกรองแพลงค์ตอน 
          - จุลินทรีย์หลายหลายที่ได้จากขี้ปลา
          - เป็นปุ๋ยให้แพลงค์ตอน

แนวทางการทำลักษณะน้ำก่อนปล่อย
          1. ฉีดเลนเอาออกบางส่วน เพื่อกระจายเลน
          2. วัดพีเอชดินแล้วทำการหว่านปูน
          3. กรองน้ำเข้าบ่อ ในระดับความลึก 80-100 ซม.
          4. หมักสารอินทรีย์ เช่นปลาป่น, รำ, ฮิวมัส, แป้งมัน, กากน้ำตาล, EM เพื่อทำลักษณะน้ำให้มีชีวิต

สูตรการหมักฮิวมัส (ขนาดถัง : 200 ลิตร)
          1. ฮิวมัสจากไก่ไข่     10     กิโลกรัม
          2. EM (ขยายแล้ว)     3      ลิตร
          3. กากน้ำตาล            2     กิโลกรัม
หมัก 4-5 วัน ปิดฝาถัง คนทุก เช้า - เย็น


สูตรขยาย EM (ให้อ๊อกซิเจน 24 ชั่วโมง)
          1. น้ำจืด                 200     ลิตร
          2. หัวเชื่อ EM             5     ลิตร
          3. กากน้ำตาล             5     กิโลกรัม
          4. ปุ๋ยเคมี 46-0-0        1     กิโลกรัม


          ลงของหมัก ในช่วงการเตรียมน้ำ 10-15 วัน แล้วจากนั้นลากโซ่ ทุกวัน ลักษณะน้ำที่ได้จะมี ความขุ่นใส ช่วงฤดูฝน ควบคุมความขุ่นใสที่ 30-35 เซนติเมตร ส่วนช่วงฤดูร้อน ควบคุมความขุ่นใสที่ 40-45 เซนติเมตร ลักษณะน้ำที่ได้ จะพร้อมปล่อยกุ้ง เมื่อกุ้งที่ปล่อย เริ่มเชคยอออก เริ่มปล่อยปลาขนาดเท่าใบมะขาม ที่กุ้งอายุประมาณ 15-25 วัน โดยถ้าความเค็มต่ำกว่า 15 ppt ใช้ปลานิลหมัน 100-200 ตัว/ไร่ แต่ถ้าความเค็มเกิน 15 ppt ใช้ลูกปลาหมอเทศ 50 ตัว/ไร่
 

อ่านต่อ





กลุ่มอาการขี้ขาว
          พบในลูกกุ้งที่ ติด EHP อยู่ก่อนแล้ว เกิดการอับเสบของตับและลำไส้ เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเกิดขี้ขาว กินอาหารลด กุ้งเริ่มผอม ตับเริ่มซีด อ่อนแอ เบื่ออาหาร ลอกคราบ มักเจอกุ้งร่วง ทำให้กุ้งสูญเสียความสามารถในการย่อยอาหาร แล้วอาหารที่ตกค้างลำไส้ ทำให้เกิดการติดเชื้อ โดยเฉพาะแบคทีเรียกลุ่ม Vibrio Vulnificus และ Vibrio alginolyticus ถ้าเจอในลูกกุ้งชุดนั้นๆ ประมาณ 102-103 มีโอกาสเจอกลุ่มอาการขี้ขาวสูง โดยเชื้อพวกนี้จะแฝงตัวอยู่ในอาร์ทีเมีย
          Vibrio Vulnificus และ Vibrio alginolyticus พบว่าบ่อที่เจอ เชื้อ 2 ตัวนี้สูงมีโอกาสเกิด กลุ่มอาการขี้ขาวได้มาก ดังนั้นกุ้งอนุบาลก่อนย้าย ต้องเคลียร์เชื้อ 2 ตัวนี้ออกให้มากที่สุด โดยฟาร์มมีการทดลองพบว่า จุลินทรีย์ในกลุ่ม Lactibacillus บางชนิดสามารถลดจำนวนเชื้อทั้งสองตัวนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการผสมเข้าไปในอาหารกุ้ง หรือ ไปหมักกับสับปะรด แล้วนำน้ำหมักสับปะรดมาคลุกอาหารให้กิน 

แนวทางแก้ไข บรรเทา อาการ

  • การป้องกันไม่ให้เกิด คือ สิ่งที่ควรทำที่สุด แก้ไขหลังจากเจอเส้นขี้ขาว ให้งดอาหารในวันที่เจอทันที ตีน้ำให้เต็มที่ ถ้าสามารถดูดเลนได้ให้ดูดออกให้หมด ลงจุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมเชื้อแบคทีเรียได้
  • วันที่ 2 ให้อาหาร 50% จากที่เคยกิน ผสมน้ำหมักสับปะรด 50 ซีซี/อาหาร 1 กก. ลงจุลินทรีย์ที่ควบคุมเชื้อได้
  • วันที่ 3 เริ่มเปลี่ยนถ่ายน้ำที่ละนิด ครั้งละ 5-10 ซม. ให้อาหารเพิ่มเล็กน้อย ขึ้นทีละ 10%
    ถ้าจำเป็นต้องตัดเชื้อ ต้องเพาะเชื้อว่าเจอเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเยอะหรือไม่ 
    ถ้าเจอ ให้ใช้โพแทสเซียมโมโนเพอร์ซัลเฟต 1 กก./ไร่ น้ำลึก 1.5 เมตร + คลอรีน 100 กรัม ประมาณ 6 ชม. แล้วลงจุลินทรีย์

การจัดการหลัง อาการขี้ขาวหาย
          หลังจากขี้ขาวหายกุ้งจะผอม เริ่มเบื่ออาหาร กินน้อยถอยลง กระตุ้นการกินโดยใช้น้ำนึ่งปลาทูน่าสกัดเข้มข้นผสมอาหาร ใช้ปลาทะเลต้ม 10 กก./เกลือทะเล 1 กก. น้ำพอท่วมต้มจนสุก นำปลาต้มมาเสริมอาหารและเคล้าในอาหารให้กุ้งกิน กุ้งจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

โรค EHP

  • ถ้าติดเชื้อ EHP อย่างเดียวไม่มีแบคที่เรียแทรกซ้อน 
  • พบเจอกุ้งจะโตช้า กินอาหารเยอะในช่วงแรก แต่ไซส์ไม่เดิน ระยะต่อมาจะกินอาหาร ทรงๆคงที่ ไซส์เดินช้ามาก ADG ลดลงอย่างรวดเร็ว
  • แนวทางแก้ไขต้องตรวจลูกกุ้งก่อนปล่อยว่าไม่พบ EHP จึงจะปล่อย
  • ถ้าปล่อยกุ้งแล้วตรวจพบ EHP เพียงเล็กน้อย ก็พอที่จะประคองการเลี้ยงได้จนจบครอป แต่อัตราการเจริญเติบโตอาจลดลงบ้างตามการจัดการของแต่ละฟาร์ม
  • ไม่มีวิธีที่จะกำจัด EHP ที่เจอในตัวกุ้ง
  • ไม่มียาปฏิชีวะนะ ไม่มีวิธีกำจัด ถ้าเข้าไปในตัวกุ้งแล้ว ไม่มีทางกำจัด แต่มีวิธีการบรรเทาอาการ
  • ใช้สูตรปลาต้มที่แนะนำผสมกับจุลินทรีย์ที่สามารถควบคุมเชื้อที่จะแทรกซ้อนได้ เปลี่ยนถ่ายน้ำให้บ่อยขึ้นแต่ที่ละน้อย ควบคุมอาหารไม่ให้เหลือ ใช้อาหารที่มีโปรตีนจากปลาป่นสูง ใช้จุลินทรีย์ควบคุมคุณภาพน้ำและเชื้อในน้ำ

โรค EMS

  • ป้องกันได้โดยใช้ถูกกุ้งที่ปลอดเชื้อ แต่ถ้าเกิดการติดเชื้อให้เอากุ้งตายออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • แก้ไขโดย งดอาหาร 1 วัน ในวันที่เจอกุ้งร่วง ให้ตัดเชื้อในน้ำโดยใช้โพแทสเซียมโมโนเพอร์ซัลเฟต 1 กก./ไร่ แล้วลงจุลินทรีย์ที่ สามารถควบคุมเชื้อได้ หลังจากลงพแทสเซียมโมโนเพอร์ซัลเฟต ภายใน 6 ชม.
  • วันที่ 2 ให้อาหาร 20% จากที่เคยกิน ผสมน้ำหมักสับปะรด 50 ซีซี ต่ออาหาร 1 กก. + ใช้จุลินทรีย์ที่สามารถ
  • ต้านเชื้อได้ หรือ ลดเชื้อได้ ผสมอาหาร
  • วันที่ 3 ให้สังเกตอาการ หยุดตายแล้วให้ค่อยเพิ่มอาหารที่ละนิด แต่ไม่หยุดตายให้คงอาหารแบบเดิมไว้ก่อน
  • วันที่ 4 ถ้าสามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำใด้ให้เปลี่ยนถ่ายน้ำ แต่ครั้งละน้อยๆ ไม่เกิน 10-15 ชม.

โรคไวรัส WSSV และ YHV

  • เน้นแนวทางในการป้องกัน ระบบไบโอซิเคียวในฟาร์มให้เข้ม เพราะ WSSV และ YHV ไม่สามารถรักษาได้ เจอให้เร็ว จับให้เร็ว หรือ ปิดบ่อให้เร็วที่สุด ป้องกันการแพร่กระจายระหว่างบ่อ คือ ถ้าตรวจพบว่ากุ้งติดไวรัส ให้ใช้ โพแทสเซียมโมโนเพอร์ซัลเฟต 2 กก./ไร่ ละลายน้ำผสม + คลอรีน 200 กรัม สาดลงบ่อ แล้วค่อยจับกุ้ง ถ้ากุ้งเล็กแนะนำให้ปิดบ่อ โดยใช้ยาฆ่าพาหะไตรคลอฟอน หรือ ไดคลอร์วอส 2 กิโลกรัม/ไร่ ปิดบ่อ แล้วขังน้ำไว้ 14 วันเป็นอย่างน้อย ห้ามมีกิจกรรมใดๆ ในบ่อนั้นเด็ดขาดหลังจากปิดบ่อ

โรคทอร่าซินโดรม TSV

  • กุ้งที่ติดเชื้อ TSV จะตายเพียงเล็กน้อย 5-15% ไม่เกินนี้ หลังจากหายจากการติดเชื้อแล้ว พบแผลที่ตัวกุ้งบริเวณเปลือกรอบๆ ตัว ไปจนถึงหาง แก้ไขโดยเสริมแร่ธาตุในน้ำ เช่น ดีเกลือ หรือ แมกนีเซียมซัลเฟต ตักตัวสีส้มที่ขอบบ่อออกให้มากที่สุด ผสมวิตามินซี 10 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม งดเปลี่ยนถ่ายน้ำในระยะแรก ที่พบว่าติดเชื้อ กุ้งจะมีอาการตัวสีส้ม ในช่วงนี้ถ้าเปลี่ยนถ่ายน้ำ กุ้งจะร่วงควรเสริมแร่ธาตุ ให้ครบทุกตัวเป็นสิ่งที่จำเป็น การใช้ยาปฏิชีวนะไม่ทำให้กุ้งดีขึ้น แต่จะทำให้แย่ลง การผสมวิตามินซี และสารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน คือ วิธีที่ดีที่สุด
  • แผลของกุ้งจะเริ่มเกิด ประมาณ 7-10 วันหลังได้รับเชื้อแล้ว ถ้าเกิดแผลขึ้นแสดงว่า กุ้งสามารถต่อสู้และฟื้นตัวได้แล้ว การรักษาแผลในกุ้งหลังจากการฟื้นตัว ให้ผสมเกลือแกงในอาหาร 10 กรัม/อาหาร 1 กก. ความเค็มตั้งแต่ 10 ppt ขึ้นไป ถ้าความเค็มต่ำว่า 10 ppt 

ให้ผสมเกลือแกง 20 กรัม/อาหาร 1 กก. ผสมด้วยวิตามินซี และ ถ้ามีแอสต้าแซนทิน หรือ อาหารที่มีสูตรผสมของแอสต้าแซนทิน 
กุ้งจะฟื้นตัวเร็วขึ้น และแผลก็จะหายเร็วขึ้นด้วย ระยะนี้สามารถเปลี่ยนถ่ายน้ำได้ตามปกติ

เหงือกสีชา หรือ เหงือกสีดำ

  • สาเหตุเกิดจากการดรอปของแพลงก์ตอน / เกิดจากกุ้งเข้าไปอยู่ในแนวเลนจำนวนมาก เนื่องจากสภาพฝนตก หรือ อุณหภูมิที่ลดต่ำลงอย่างรวดเร็วทำให้กุ้งต้องหาที่อบอุ่นอยู่ ตามลักษณะนิสัยของกุ้ง น้ำดรอปจากความไม่สมดุลของกลุ่มแพลงก์ตอนในบ่อ 
  • วิธีแก้ไขใส่ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 10 ลิตร/ไร่ ในตอนกลางคืน ถ้าเหงือกสีชา ทำติดต่อกัน 4-5 วัน จนสีของเหงือกดีขึ้น เปลี่ยนถ่ายน้ำทีละน้อย ถ้าเหงือกกุ้งเป็นสีดำ ต้องใส่ทั้งกลางวันและกลางคืน ให้ใส่ไฮโดรเจนเปอร์อกไซด์ 2 ช่วงเวลา คือ 13.00 และ 22.00 น. เหงือกกุ้งจะหายเร็วขึ้น และเปลี่ยนถ่ายน้ำเพิ่มขึ้นให้มากกว่าเดิม เอาเลนออก หรือ ไล่กุ้งจากแนวเลน โดยใช้ ปูนร้อน หว่านรอบๆ หลุมเลน ใช้อ๊อกผงหว่าน 5 กิโลกรัม/ไร่  จุลินทรีย์น้ำแดง และ ซีโอไลท์ 20 ลิตร/ไร่ หว่านรอบแนวเลน

สีน้ำเข้ม

  • สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากอาหารที่เหลือ และการตีน้ำที่มากเกินไปในช่วงเวลาที่แดดจัด 
  • แก้ไข โดยการจำกัดอาหารให้น้อยลง ในระยะแรกวิธีที่ดีที่สุดคือ เปลี่ยนถ่ายน้ำ 
  • การควบคุมสีน้ำ ถ้าสีน้ำเริ่มที่จะเข้มให้ใช้สีน้ำเทียมใส่ลงเพื่อพรางแสง ลดการสัมผัสแสงแดดกับแพลงก์ตอน 
  • ลดการตีน้ำในช่วงที่แดดจัด ควบคุมอาหาร ให้จำกัดเพดานฟีด
  • หลังจากลงสีน้ำเทียม ลงกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย เพื่อปรับสมดุลระหว่างจุลินทรีย์และแพลงก์ตอนในบ่อ ปกติจะใช้ประมาณ 5% ของอาหาร เช่น อาหาร 100 กิโลกรัม/วัน ให้ลงกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายที่ 5 กิโลกรัม/วัน
  • ลงจุลินทรีย์เฉพาะกลุ่มที่สามารถกำจัดสารอินทรีย์ หรือ กินเอมโมเนียเป็นอาหาร

เหงือกสีชา หรือ เหงือกสีดำ

  • เกิดจากน้ำเข้มมาก่อนแล้ว เพราะเกิดจากการเจริญเติบโตของกลุ่มแพลงก์ตอนที่มากเกินไปจนเกินกว่าสารอาหารที่มีในบ่อ
  • สารอาหารหมดหรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เช่น ฝนตก pH แกว่งในรอบวัน ทำให้แพลงก์ตอนตาย น้ำก็จะดรอป
  • วิธีแก้ไขง่ายที่สุด ถ้าน้ำเกิดดรอปแล้ว คือ การเปลี่ยนถ่ายน้ำ ถ้าไม่มีน้ำเปลี่ยนถ่าย ให้ใช้สีน้ำเทียมก่อน
  • ถ้าน้ำในบ่อติดกันมีสีน้ำที่สวย กลุ่มแพลงก์ตอนที่ดี ก็สามารถดูดมาค่อยๆ เติมในบ่อที่น้ำดรอปได้ จะทำให้สีน้ำเกิดได้เร็วขึ้น

กุ้งเป็นแผล

  • แผลขีดข่วนจากกรีกุ้ง สาเหตุเพราะปล่อยกุ้งที่หนาแน่นเกินไป การรักษาแผลขีดข่วน ให้พาเชียลกุ้งออก แผลก็จะค่อยๆ หายไป ก่อนพาเชียลใช้เกลือแกงผสมในอาหาร 10 กรัม/อาหาร 1 กก. พอกุ้งลอกคราบแล้วให้ใส่แร่ธาตุ แมกนีเซียมซัลเฟต และ โพตัสเชียมคลอไรท์ เปลือกกุ้งจะแข็งเร็วขึ้น แล้วพาเชียลกุ้งออกเพื่อลดความหนาแน่น
  • แผลจากความเค็มต่ำ ไนไตร์ทสูง มักเกิดขึ้นหลังในไตร์ทสูงเกิน 3 ppm เป็นเวลานานหลายวัน เปลือกกุ้งจะบาง เบื่ออาหาร ถ้าปล่อยไปนานๆ กุ้งจะตัวหลวม กรอบแกรบ วิธีบรรเทาเบื้องต้น ให้ไช้วิตามินซี ผสมอาหาร 10 กรัม/อาหาร 1 กก. ผสมเกลือแกงในอาหาร 20 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม (ถ้าความเค็มต่ำ) ใช้กลุ่มจุลินทรีย์ที่จำเพาะเจาะจง ใช้ในไตร์ทเป็นอาหารจะดีมาก เปลี่ยนถ่ายน้ำให้บ่อยทำเบื้องต้นประมาณ 5 วัน แผลก็จะน้อยลงและหายไป

แนวทางการเตรียมบ่อและการจัดการฟาร์ม

  • หลังจากจับกุ้งแล้วให้ฉีดเลน ตากให้แห้งอย่างน้อย 7 วัน เช็คพื้นว่าฉีดเลนสะอาดหรือไม่ ถ้าไม่สะอาดอาจจะต้องฉีดอีกรอบ ให้หว่านปูนร้อน ความเค็มตั้งแต่ 10 ppm ให้ใช้ปูนแคลเซียมอ็อกไซด์ เพราะความเค็มสูง ค่าแมกนีเซียมจะมีปริมาณสูงอยู่แล้ว ต้องเติมแคลเซียมและจะได้อัลคาไลน์ตามมาด้วย ความเค็มต่ำกว่า 10 ppm ให้ใช้ปูนแมกนีเซียมอ๊อกไซด์ เพราะแมกนีเซียมจะมีปริมาณน้อย
  • กรณีบ่อ PE แบบบาง ให้เปิด PE แล้วหว่านด้วยปูนขาวใต้ PE แล้วปิด PE จากนั้น เติมน้ำผสมด่างทับทิม 15 ppm พอท่วมพื้นบ่อ ทิ้งไว้ 24 ชม. เพื่อต้องการกำจัด EHP ที่อยู่ในรูปสปอร์ เมื่อครบ 24 ชม. ก็เติมน้ำเข้าบ่อในปริมาณที่ต้องการเลี้ยง กรองน้ำด้วยมุ้งฟ้าและใยฟู
  • กรณีบ่อดิน หลังจากฉีดเลน ตากบ่อให้แห้ง อย่างน้อย 7 วัน ลงปูนร้อน 300 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากหว่านปูนเสร็จให้เอาน้ำเข้าบ่อทันที (ใช้ปูนดูที่ความเค็มเป็นหลัก)

           วันที่ 1   ลงยาฆ่าพาหะทันที หลังจากน้ำได้ระดับ ที่ 3 กก./ไร่ ที่ระดับความลึก 1.5 เมตร
           วันที่ 3   ลงคอปเปอร์ซัลเฟต 8 กิโลกรัม/ไร่
           วันที่ 6   ลงกากชา 20 กิโลกรัม/ไร่ (ถ้าต้องการให้กากชาออกฤทธิ์ได้ดียิ่งขึ้น ให้หมักกับเกลือ น้ำจืด 400 ลิตร เกลือ 40 กก.)
           วันที่ 10 ลงกากน้ำตาลที่หมักกับจุลินทรีย์ 50 กิโลกรัม/ไร่ หรือน้ำตาลทราย 20 กิโลกรัม/ไร่ (เคล็ดลับลงโพแทสเซี่ยมโมโนเปอร์ซัลเฟต2 กก./ไร่ เพื่อให้ค่า pH นิ่ง)
           วันที่ 12 ลงจุลินทรีย์น้ำแดง 20 ลิตร/ไร่ ผสมปูนซีโอไลท์ กับ จุลินทรีย์น้ำแดงในอัตราส่วนปูน 10 กิโลกรัม/จุลินทรีย์น้ำแดง 20 ลิตร สาดให้ทั่วบ่อเน้นบริเวณหลุมเลน และแนวเลนบริเวณ Auto Feed
           วันที่ 14 ลงจุลินทรีย์ผสมกากน้ำตาล 20 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อปรับ pH ให้เหมาะสม (ผสมกากน้ำตาลกับจุลินทรีย์ในถังน็อคหมักไว้ 24 ชม. ให้อากาศเบาๆ)
           วันที่ 15 ตรวจสอบคุณภาพน้ำ ปรับแร่ธาตุให้ได้ตามเกณฑ์ แล้วนำกุ้งที่จะปล่อยมาลองน้ำ

การลงจุลินทรีย์หมักกับกากน้ำตาล หรือ น้ำตาลทราย

  • เพราะว่าเราเตรียมบ่อด้วยปูนร้อนที่ทำให้น้ำ pH สูงเกิน 9 จึงจำเป็นต้องดึง pH ลงมาให้เหมาะสมก่อนการปล่อยกุ้ง กากน้ำตาล หรือ น้ำตาลทรายจึงเป็นตัวเหมาะสมที่จะใช้ เพราะว่าทั้งสองชนิดนี้คืออาหารของจุสินทรีย์เมื่อจุลินทรีย์ขยายตัวจะสร้างกรดคาร์บอนนิคทำให้ pH น้ำลดลง และยังไปละลายแคลเซียมในปูนที่เราใช้เตรียมบ่อ ส่งผลให้เกิด Alkaline จากปฏิกริยาขั้นต้น
  • การใช้จุลินทรีย์หลาย ๆ กลุ่ม เช่น กลุ่มบาซิสัสย่อยโปรตีนจากถั่วเหลือง แป้ง ไขมัน เปลี่ยนโปรตีนที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง ทำให้กุ้งดูดซึมโปรตีนได้ง่ายขึ้นกลุ่มแลตโตบาซิสัสไม่สามารถย่อยโปรตีนจากถั่วเหลืองได้ แต่สามารถผลิตกรดอินทรีย์ (organic acid) กรดอินทรีย์นี้สามารถยับยั้งเชื้อ V. harveyi  V.parahaemolyticus ได้
อ่านต่อ