Dark Mode :

(+66) 34 886148 156
Text Size :
TH EN

2024-04-09

ใช้ยูเรียอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสัตว์เคี้ยวเอื้อง

          เกษตรกรหลายท่านยังมีข้อสงสัยเกี่ยวการใช้ยูเรียในสัตว์เคี้ยวเอื้อง สรุปแล้วควรใช้หรือไม่? ถ้าใช้แล้วควรใช้ในปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม ซึ่งจากการที่ได้สอบถามกับเกษตรกร มีเกษตรกรหลายรายยังไม่มั่นใจถึงความปลอดภัยต่อการใช้ยูเรียในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง เพราะมีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงทำให้สัตว์มีอาการยูเรียเป็นพิษ อย่างไรก็ตามหากใช้อย่างระมัดระวัง ใช้อย่างถูกต้องถูกวิธี และใช้ในปริมาณที่เหมาะสมก็สามารถนำมาใช้เพื่อเป็นแหล่งไนโตรเจนให้กับจุลินทรีย์ในสัตว์เคี้ยวเอื้องได้

 ทำไมต้องใช้ยูเรียในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง

          โปรตีนแท้ เช่น กากถั่งเหลือง โดยปกติแล้วเมื่อเข้าสู่กระเพาะรูเมน ปริมาณ 60% จะถูกจุลินทรีย์ในรูเมนย่อยสลายเป็นแอมโมเนีย นำไปสร้างเป็น จุลินทรีย์โปรตีน แล้วจึงผ่านสู่กระเพาะแท้และลำไส้เล็กเพื่อย่อยและดูดซึม ส่วนอีก 40% โปรตีนแท้จะไม่ถูกย่อยโดยจุลินทรีย์แต่จะผ่านไปยังกระเพาะแท้และลำไส้เล็กไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง

          ยูเรีย คือ ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ที่ใช้เป็นแหล่งไนโตรเจนให้กับพืช มีไนโตรเจน 46% เมื่อคิดเป็น crude protein จะมีค่าเท่ากับ 265 % ในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งไนโตรเจนร่วมกับโปรตีนแท้ได้ จัดเป็นแหล่งไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีน (Non-Protein Nitrogen , NPN) เมื่อยูเรียเข้าสู่กระเพาะรูเมนจะถูกจุลินทรีย์เปลี่ยนเป็นแอมโมเนียไนโตรเจน (NH3-N) 100% เพื่อใช้สร้างเป็นจุลินทรีย์โปรตีน (Microbial protein) ดังนั้น การใส่ยูเรียในอาหารจึงใส่เพื่อให้จุลินทรีย์ได้นำไปใช้ประโยชน์ ไม่ได้ใส่เพื่อให้สัตว์เคี้ยวเอื้องนำไปใช้ได้โดยตรง (ดังแสดงในภาพที่ 1)

ข้อจำกัด/ข้อแนะนำในการใช้ยูเรีย

  1. ระดับการใช้ที่แนะนำในสูตรอาหารข้นไม่เกิน 2% ในสูตรอาหาร หรือไม่เกิน 1% ของวัตถุแห้งในอาหารที่สัตว์ได้รับทั้งหมดต่อวัน (สุธิดา และคณะ 2548)
  2. ต้องมีแหล่งคาร์โบไฮเดรตย่อยง่าย เช่น กากน้ำตาล มันเส้น เป็นต้น ในระดับที่เพียงพอให้จุลินทรีย์นำไปใช้เปลี่ยนแอมโมเนียเป็น microbial protein
  3. ผสมยูเรียให้กระจายตัวเข้ากับอาหารให้มากที่สุด ยูเรียต้องไม่จับตัวเป็นก้อน
  4. ห้ามใช้ในสัตว์เคี้ยวเอื้องที่อายุน้อย (หย่านม-5 เดือน) เนื่องจากกระเพาะรูเมนยังไม่เจริญเต็มที่ ปกติกระเพาะรูเมนของโคจะเจริญเต็มที่เมื่อโคอายุประมาณ 4-5 เดือน
  5. หากอาหารหยาบและอาหารข้นมีการเสริมยูเรียแนะนำว่าต้องคำนวณปริมาณของยูเรียที่โคได้รับให้ไม่เกิน 1% ในอาหารสัตว์ที่โคได้รับทั้งหมดต่อวัน

ผลกระทบจากการใช้ยูเรียเกินข้อจำกัด/ข้อแนะนำ

          อาการเป็นพิษแบบฉับพลัน จะเกิดอาการได้ชัดเจนเมื่อโคได้รับปริมาณยูเรีย 0.1% ของน้ำหนัก หรือประมาณ 0.5 kg เมื่อโคน้ำหนัก 500 kg (รัมภา และคณะ 2549) อาการที่เห็นกันทั่วไป โคจะน้ำลายฟูมปาก หายใจลำบาก มีอาการทางประสาท กล้ามเนื้อชักกระตุก อย่างรุนแรง ท้องอืด สัตว์จะล้มลงนอน และตายในที่สุด (Fraser,1963, Dinningetal.,1984) วิธีที่ช่วยลดอาการเป็นพิษสามารถทำได้ดังนี้ คือ ใช้น้ำส้มสายชู : น้ำเย็น หรือ ใช้กรด Acetic/Formic : น้ำเย็น ในอัตราส่วน 1:1 ป้อนเข้าปากโคให้เร็วที่สุด (ดังแสดงในภาพที่ 2)

          ผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ มีงานวิจัยศึกษาว่าเมื่อสัตว์ได้รับอาหารข้นระยะเวลาผ่านไปประมาณ 4 ชั่วโมง ปริมาณ BUN ต้องไม่เกิน 19 mg/dl ถึงจะไม่ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์  หากเกินกว่านั้นจะส่งผลให้โคเป็นสัดเงียบ อัตราการผสมติดและอัตราการตั้งท้องลดลง (Elrod and Butler, 1993; Ferguson et al., 1993; Butler, 1998) ซึ่งปกติหากใช้ยูเรียในอาหารข้น 2% ค่า BUN ในโคนมจะมาค่าเท่ากับ 8.3 mg/dl ทั้งนี้ BUN จะหลงเหลือเข้าสู่กระแสเลือดมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับปริมาณ NSC และความสามารถของจุลินทรีย์ในการเปลี่ยน NH3-N ไปเป็น Microbial protein (ดังแสดงในภาพที่ 2)

อ่านต่อ





2023-12-28

สภาวะกรดในกระเพาะรูเมน (Acidosis) ที่ไม่ควรมองข้าม

           เชื่อว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันยังประสบปัญหาโคมีสภาวะกระเพาะรูเมนเป็นกรด หรือที่เรียกว่า สภาวะ Acidosis บางฟาร์มสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที แต่บางฟาร์มก็สายเกินแก้ไข ส่งผลต่อสุขภาพของแม่โค แน่นอนว่าส่งผลต่อผลผลิตที่ลดลง แต่สภาวะดังกล่าวไม่ได้น่ากลัวอย่างที่ ถ้าเกษตรผู้เลี้ยงโคนมมีความเข้าใจหลักการของการเกิดสภาวะ Acidosis

กรดในกระเพาะรูเมน (Acidosis) เป็นภาวะที่มีกรดในกระเพาะรูเมนสูง โดยมีอยู่ 2 แบบ ดังนี้ 

  1. สภาวะกรดในกระเพาะรูเมนแบบเฉียบพลัน (Acute Ruminal Acidosis: ARA) ซึ่งทำให้สัตว์แสดงอาการทางคลินิกได้อย่างชัดเจน เช่น หยุดกินอาหาร ท้องอืด ปวดท้อง หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็วผิดปกติ ถ่ายเหลว ซึม กระสับกระส่าย ล้มลงนอน และตายในที่สุด (Oetzel, 2015)
  2. สภาวะกรดในกระเพาะรูเมนแบบกึ่งเฉียบพลัน (Subacute Ruminal Acidosis: SARA) ซึ่งโคมักจะมีอาการแบบกึ่งเฉียบพลัน โดยจะไม่แสดงอาการในระยะแรกๆ พบเพียงการกินได้และมีผลผลิตลดลง เท่านั้น (Abdela, 2016) 

สาเหตุ

  • รูปแบบและสัดส่วนปริมาณการให้อาหารอาหารข้น อาหารข้นประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยสลายง่ายในกระเพาะรูเมน โดยเฉพาะแป้งและน้ำตาล เกษตรกรมักให้ในขณะรีดนม แยกกับอาหารหยาบ ส่งผลทำให้เกิดการหมักย่อยได้อย่างรวดเร็วโดยจุลินทรีย์กลุ่มย่อยแป้ง (amylolytic bacteria) ทำให้กรดในกระเพาะรูเมนเพิ่มขึ้น ค่าความเป็นกรดด่างภายในกระเพาะรูเมนลดลง จึงเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดสภาวะ acidosis (Chaucheyras-Durand et al., 2008)
  • อาหารหยาบสับย่อยมีขนาดสั้นกว่า 2-3 นิ้ว จะทำให้เกิดกรดได้ง่าย เนื่องจากอาหารหยาบที่สั้นเกินไปจะผ่านกระเพาะหมักอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถย่อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาหารหยาบที่มีขนาดยาวกว่า 2 นิ้วจะสามารถทำให้โคเคี้ยวเอื้องแล้วเกิดน้ำลายเป็น buffer ช่วยปรับความเป็นกรดในกระเพาะรูเมนได้
  • การเติมไขมัน ลงในอาหารก็มีผลทำให้เกิดกรดในกระเพาะรูเมนได้เช่นเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้นไขมันและน้ำมันบางชนิดจะลดการย่อยได้ของเยื่อใยโดยทำลายแบคทีเรียที่ย่อยเยื่อใย หรือไปเคลือบเยื่อใยไว้ ยากต่อการที่จุลินทรีย์จะเข้าไปย่อย

อาการ

  • ท้องเสียคะแนนมูล 1-2 (ดังแสดงในภาพที่ 1)
  • ซึม เบื่ออาหาร
  • ปริมาณการกินลดลง 
  • โคท้องอืด
  • โคเจ็บกีบ คะแนนการเดินมากกว่า 2 (ดังแสดงในภาพการประเมินอาการเบื้องต้นจากลักษณะมูล)
  • อ่อนเพลียและตายในที่สุด บางตัวอาหารหนักอาจตายภายใน 24 ชั่วโมง
  • องค์ประกอบน้ำนม (ไขมันนม โปรตีนนม แลคโตสในน้ำนม ฯลฯ) ลดลงต่ำกว่าค่ามาตรฐาน

การป้องกัน

  1. ให้อาหารหยาบ:อาหารข้นในปริมาณที่เหมาะสม (ดังแสดงในตารางที่ 1)

                   >30:70 (โคคลอดใหม่ หรือโคที่ให้นม >20 กก./ตัว/วัน)
                   >35:65 (โคระยะกลางให้นม หรือโคที่ให้นม 15-20 กก./ตัว/วัน)
                   >40:60 (โคนมระยะท้าย หรือโคที่ให้นม <15 กก./ตัว/วัน) 
       2. เพิ่มจำนวนการให้อาหารข้นออกเป็น 3 - 4 มื้อต่อวัน 
       3. ให้อาหารหยาบปูรองพื้น แล้ว Top อาหารข้นไว้ด้านบนในขณะรีดนม หรือเปลี่ยนมาให้อาหารในรูปแบบ TMR

อ่านต่อ





2024-01-20

เลี้ยงโคนมอย่างไรให้ปลอดภัย จากสภาวะเครียดจากความร้อน

      อากาศร้อนมีผลต่อโค คือ ก่อให้เกิดความเครียด (Heat Stress) ปกติโคนมมีอุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 38.3 – 39.1 ๐C โดยประมาณ แต่ปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ อุณหภูมิและความชื้นของอากาศรอบๆ ตัวสัตว์ ดังนั้นจึงใช้ค่าดัชนีอุณหภูมิและความชื้น (Temperature-Humidity Index, THI) เป็นค่าที่ทำนายว่าโคเกิดความเครียดเนื่องจากความร้อน ซึ่งค่านี้สามารถคำนวณได้ จากสมการ (Wiersma, 1990) 

 

THI = (dry bulb temperature; oC) + (0.36 dew point temp; oC) + 41.2  (Wiersma, 1990) 

 

ระดับที่บ่งบอกภาวะ Heat Stress 

  • THI ระหว่าง 72 – 78 โคนมจะอยู่ในสภาพเครียดเล็กน้อย (Mild stress)
  • THI อยู่ระหว่าง 79 – 89 โคจะเครียดปานกลาง (Moderate)
  • THI ระหว่าง 89 – 99 โคจะอยู่ในสภาพเครียดจัด (Severe stress)
  • THI มากกว่า 99 โคจะตายเนื่องจากความเครียดจากความร้อน

ความร้อนในโคนมเกิดจากอะไรบ้าง ?

  • เกิดจากแสงแดดในฤดูร้อน อุณหภูมิของอากาศที่สูงขึ้นทุกปี ประเทศไทยอุณหภูมิสูงสุดจะสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส
  • ความร้อนเนื่องจากกระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ในร่างกายสัตว์
  • เกิดจากการให้ผลผลิตน้ำนมทุกๆ 0.45 kg ที่แม่โคผลิตได้ จะมีการผลิตความร้อนภายในร่างกายถึง 10 kcl/hr.
  • แม่โคที่ให้น้ำนมสูง (>16 kg/d) จะกินอาหารในปริมาณมากกว่าปกติเพื่อให้สารอาหารเพียงพอที่จะนำไปใช้ผลิตน้ำนม จึงเกิดความร้อนในตัวแม่โคให้นมสูงมากกว่าแม่โคที่ให้น้ำนมน้อย (<10 kg/d) หรือปานกลาง (11-15 kg/d)

ผลกระทบจาก Heat Stress 

  • สภาวะเครียดโคจะเคี้ยวเอื้องลดลง หายใจหอบ (>40 ครั้ง/นาที) หายใจโดยใช้ปาก น้ำลายไหลทำให้สูญเสียน้ำลายมากกว่าสภาวะปกติ ส่งผลให้ Buffer ในกระเพาะรูเมนไม่เพียงพอ
  • เกิดสภาวะ acidosis จุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมนมีการเปลี่ยนแปลง
  • ปริมาณการกินลดลงเมื่อเทียบกับโคที่อยู่ในสภาวะปกติ
  • ปริมาณผลผลิตน้ำนมลดลง และองค์ประกอบน้ำนมไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 
  • ความสมบูรณ์ของร่างกายแม่โค และน้ำหนักของลูกโคจะต่ำกว่าสภาวะปกติ 
  • ส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ โคแสดงอาการเป็นสัดลดลง อัตราการผสมติดของแม่โคในช่วงฤดูร้อนค่อนข้างต่ำกว่าช่วงฤดูอื่นๆ เนื่องจากสารอาหารไม่เพียงพอต่อระบบสืบพันธุ์ อุณหภูมิภายในมดลูกสูงกว่าปกติไม่เหมาะต่อการฝังตัวของตัวอ่อน เกิดโอกาสการตายของตัวอ่อนในระยะแรก

          หลายงานวิจัย กล่าวว่า Heat Stress ส่งผลกระทบด้านลบต่อการผลิตโคนมทั้งด้านระบบสืบพันธุ์ ด้านการให้ผลผลิต รวมถึงการทํางานของต่อมน้ำนม (Rhoads et al., 2009) พบว่าปริมาณโปรตีนนมมีการตอบสนองต่อสภาวะเครียดจากความร้อนมากกว่าปริมาณน้ำนม (Barash et al. 2001) และเมื่อระดับของค่า THI เพิ่มขึ้น โคนมลูกผสมที่มีระดับสายเลือดของโฮลสไตน์ที่มากกว่าหรือเท่ากับ 93.7% จะได้รับอิทธิพลสภาวะเครียดจากความร้อนมากที่สุด (กนกกาญจน์ และคณะ 2556) มีการศึกษาว่าสายเลือดโฮลสไตน์ 87.5%-93.7% สามารถเลี้ยงในสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้ แต่ต้องมีการจัดการอาหารที่ดี และการระบายความร้อนให้แก่แม่โคที่ถูกต้อง (สมสุข และคณะ 2555)

 

การป้องกันไม่ให้โคเกิดสภาวะเครียดจากความร้อน
          การลดอุณหภูมิในตัวโค

  • พ่นสเปรย์น้ำให้โคขณะรีดนม ระยะเวลา 30-60 วินาที/ครั้ง จะช่วยให้ผิวหนังโคเปียกชุ่ม
  • การติดตั้งพัดลมภายในโรงเรือนหากเป็นโรงเรือนปล่อยให้เปิดพัดลมให้โคขณะรีดนม พัดลมจะช่วยพาความร้อนส่วนหนึ่งออกจากตัวโค ทำให้โครู้สึกสบาย และผ่อนคลายในขณะให้ผลผลิต
  • จัดหาร่มเงาให้โคสำหรับโคที่เลี้ยงปล่อย

          การจัดการน้ำและการให้อาหาร

  • มีที่ให้น้ำสะอาดไว้ในที่ร่มให้เพียงพอ เนื่องจากปริมาณน้ำดื่มของโคนมสัมพันธ์กับปริมาณน้ำนมและอุณหภูมิ การขาดน้ำดื่มจะส่งผลโดยตรงต่อผลผลิตน้ำนมในฤดูร้อน ปริมาณการใช้น้ำของโคที่ให้นมมากถึง 5 เท่าของปริมาณการให้นม ซึ่งไม่เพียงแต่รับประกันการผลิตน้ำนมเท่านั้น แต่ยังเพิ่มการขับถ่ายของวัว ขจัดความร้อนส่วนเกินในร่างกาย และรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ
  • จัดการช่วงเวลาในการให้อาหาร ในช่วงอากาศเย็น เช่น เช้ามืดหรือเย็น แบ่งมื้อการให้อาหาร 3-5 มื้อต่อวัน
  • เพิ่มความเข้มข้นของโภชนะในอาหาร ให้อาหารหยาบคุณภาพดีเพื่อชดเชยปริมาณการกินได้ที่ลดลง
  • ให้คาร์โบไฮเดรตและไขมัน เช่น เสริม bypass fat และหรือ กากมัน เป็นต้น
  • ลดอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนและกรดอะมิโน
  • ให้อาหาร TMR ไม่ให้โคเลือกกิน ได้โภชนะครบถ้วน
อ่านต่อ





2024-04-09

ใช้ยูเรียอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสัตว์เคี้ยวเอื้อง

          เกษตรกรหลายท่านยังมีข้อสงสัยเกี่ยวการใช้ยูเรียในสัตว์เคี้ยวเอื้อง สรุปแล้วควรใช้หรือไม่? ถ้าใช้แล้วควรใช้ในปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม ซึ่งจากการที่ได้สอบถามกับเกษตรกร มีเกษตรกรหลายรายยังไม่มั่นใจถึงความปลอดภัยต่อการใช้ยูเรียในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง เพราะมีโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงทำให้สัตว์มีอาการยูเรียเป็นพิษ อย่างไรก็ตามหากใช้อย่างระมัดระวัง ใช้อย่างถูกต้องถูกวิธี และใช้ในปริมาณที่เหมาะสมก็สามารถนำมาใช้เพื่อเป็นแหล่งไนโตรเจนให้กับจุลินทรีย์ในสัตว์เคี้ยวเอื้องได้

 ทำไมต้องใช้ยูเรียในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง

          โปรตีนแท้ เช่น กากถั่งเหลือง โดยปกติแล้วเมื่อเข้าสู่กระเพาะรูเมน ปริมาณ 60% จะถูกจุลินทรีย์ในรูเมนย่อยสลายเป็นแอมโมเนีย นำไปสร้างเป็น จุลินทรีย์โปรตีน แล้วจึงผ่านสู่กระเพาะแท้และลำไส้เล็กเพื่อย่อยและดูดซึม ส่วนอีก 40% โปรตีนแท้จะไม่ถูกย่อยโดยจุลินทรีย์แต่จะผ่านไปยังกระเพาะแท้และลำไส้เล็กไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง

          ยูเรีย คือ ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ที่ใช้เป็นแหล่งไนโตรเจนให้กับพืช มีไนโตรเจน 46% เมื่อคิดเป็น crude protein จะมีค่าเท่ากับ 265 % ในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งไนโตรเจนร่วมกับโปรตีนแท้ได้ จัดเป็นแหล่งไนโตรเจนที่ไม่ใช่โปรตีน (Non-Protein Nitrogen , NPN) เมื่อยูเรียเข้าสู่กระเพาะรูเมนจะถูกจุลินทรีย์เปลี่ยนเป็นแอมโมเนียไนโตรเจน (NH3-N) 100% เพื่อใช้สร้างเป็นจุลินทรีย์โปรตีน (Microbial protein) ดังนั้น การใส่ยูเรียในอาหารจึงใส่เพื่อให้จุลินทรีย์ได้นำไปใช้ประโยชน์ ไม่ได้ใส่เพื่อให้สัตว์เคี้ยวเอื้องนำไปใช้ได้โดยตรง (ดังแสดงในภาพที่ 1)

ข้อจำกัด/ข้อแนะนำในการใช้ยูเรีย

  1. ระดับการใช้ที่แนะนำในสูตรอาหารข้นไม่เกิน 2% ในสูตรอาหาร หรือไม่เกิน 1% ของวัตถุแห้งในอาหารที่สัตว์ได้รับทั้งหมดต่อวัน (สุธิดา และคณะ 2548)
  2. ต้องมีแหล่งคาร์โบไฮเดรตย่อยง่าย เช่น กากน้ำตาล มันเส้น เป็นต้น ในระดับที่เพียงพอให้จุลินทรีย์นำไปใช้เปลี่ยนแอมโมเนียเป็น microbial protein
  3. ผสมยูเรียให้กระจายตัวเข้ากับอาหารให้มากที่สุด ยูเรียต้องไม่จับตัวเป็นก้อน
  4. ห้ามใช้ในสัตว์เคี้ยวเอื้องที่อายุน้อย (หย่านม-5 เดือน) เนื่องจากกระเพาะรูเมนยังไม่เจริญเต็มที่ ปกติกระเพาะรูเมนของโคจะเจริญเต็มที่เมื่อโคอายุประมาณ 4-5 เดือน
  5. หากอาหารหยาบและอาหารข้นมีการเสริมยูเรียแนะนำว่าต้องคำนวณปริมาณของยูเรียที่โคได้รับให้ไม่เกิน 1% ในอาหารสัตว์ที่โคได้รับทั้งหมดต่อวัน

ผลกระทบจากการใช้ยูเรียเกินข้อจำกัด/ข้อแนะนำ

          อาการเป็นพิษแบบฉับพลัน จะเกิดอาการได้ชัดเจนเมื่อโคได้รับปริมาณยูเรีย 0.1% ของน้ำหนัก หรือประมาณ 0.5 kg เมื่อโคน้ำหนัก 500 kg (รัมภา และคณะ 2549) อาการที่เห็นกันทั่วไป โคจะน้ำลายฟูมปาก หายใจลำบาก มีอาการทางประสาท กล้ามเนื้อชักกระตุก อย่างรุนแรง ท้องอืด สัตว์จะล้มลงนอน และตายในที่สุด (Fraser,1963, Dinningetal.,1984) วิธีที่ช่วยลดอาการเป็นพิษสามารถทำได้ดังนี้ คือ ใช้น้ำส้มสายชู : น้ำเย็น หรือ ใช้กรด Acetic/Formic : น้ำเย็น ในอัตราส่วน 1:1 ป้อนเข้าปากโคให้เร็วที่สุด (ดังแสดงในภาพที่ 2)

          ผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ มีงานวิจัยศึกษาว่าเมื่อสัตว์ได้รับอาหารข้นระยะเวลาผ่านไปประมาณ 4 ชั่วโมง ปริมาณ BUN ต้องไม่เกิน 19 mg/dl ถึงจะไม่ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์  หากเกินกว่านั้นจะส่งผลให้โคเป็นสัดเงียบ อัตราการผสมติดและอัตราการตั้งท้องลดลง (Elrod and Butler, 1993; Ferguson et al., 1993; Butler, 1998) ซึ่งปกติหากใช้ยูเรียในอาหารข้น 2% ค่า BUN ในโคนมจะมาค่าเท่ากับ 8.3 mg/dl ทั้งนี้ BUN จะหลงเหลือเข้าสู่กระแสเลือดมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับปริมาณ NSC และความสามารถของจุลินทรีย์ในการเปลี่ยน NH3-N ไปเป็น Microbial protein (ดังแสดงในภาพที่ 2)

อ่านต่อ