Dark Mode :

(+66) 34 886148 156
Text Size :
TH EN

2024-01-20

แสงต่อการผลิตสัตว์ปีก

          แสงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและส่งผลต่อด้านการให้ผลผลิตของสัตว์ปีก สัตว์ปีกมองเห็นและรับรู้แสงได้ต่างกัน อีกทั้งแสงยังมีผลต่อสวัสดิภาพของสัตว์และการให้ผลผลิต โดยทั้งสองอย่างนี้อมีความเกี่ยวข้องกับอิทธิพลจากแสง ในระบบโรงเรือนสัตว์ปีก แสงส่งผลต่อพฤติกรรม การเจริญเติบโต สุขภาพ ประสิทธิภาพการผลิต การสืบพันธุ์ และสวัสดิภาพของสัตว์ปีก ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับแสงต่อสัตว์ปีก เช่น แหล่งกำเนิดแสง ระดับความเข้ม ระยะเวลา (ช่วงแสง) และสี (ความยาวคลื่น) ดังนั้นแสงในระบบโรงเรือนสัตว์ปีกจึงมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสวัสดิภาพของสัตว์ (Lewis and Morris, 1998; Wineland, 2002)
          สัตว์ปีกมีความไวเชิงสเปกตรัม (spectral sensitivity) มากกว่าของมนุษย์ และสัตว์ปีกสามารถเห็นแสงสเปกตรัม UV ซึ่งแสง UV ประกอบด้วยความยาวคลื่นที่สั้นกว่า (100–400 นาโนเมตร) การรับรู้ภาพของเลนส์ตาของสัตว์ปีกต่อรังสีระหว่าง 320 และ 400 นาโนเมตร ช่วยให้พวกมันมองเห็นแสง UVA (Govardovskii and Zueva, 1977; Hart et al., 1999; Hunt et al., 2009) สเปกตรัมรังสี UVA ที่รับรู้จากเรตินาในสัตว์ปีกยังถูกส่งไปยัง ต่อมไพเนียล (Pineal gland) ที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน (Rosiak and Zawilska, 2005)
 

อ่านต่อ





2024-01-20

การใช้เอนไซม์ในอาหารสัตว์

          เอนไซม์ (enzyme) เป็นโปรตีนที่สามารถเร่งปฏิกิริยาเคมีซึ่งถือเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทางชีวภาพ จำเป็นสำหรับการทำงานของเซลล์สิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด การใช้งานเอนไซม์ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม เนื่องจากมีความหลากหลาย ความจำเพาะต่อสารตั้งต้นและความสามารถในการเร่งปฏิกิริยา เอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ในอุตสาหกรรมการผลิตเบียร์ ขนมปัง เนยแข็ง น้ำผลไม้ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการใช้ในอาหารปศุสัตว์ถูกจำกัดจนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ ในช่วงปี ค.ศ. 1980 อุตสาหกรรมสัตว์ปีกเป็นอุตสาหกรรมแรกที่สนใจนำเอนไซม์มาใช้งานและในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้มีการนำไปใช้ในอาหารสัตว์จนมีการเติบโตมากขึ้นโดยมีมูลค่าการค้าประมาณ 1,280 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2019 (Velázquez-De Lucio, et al., 2021)


     
          เอนไซม์ที่ใช้เติมแต่งในอาหารสัตว์ถือเป็นสารเติมแต่งที่ช่วยปรับปรุงความสม่ำเสมอและคุณค่าทางโภชนาการของอาหารสัตว์ เพิ่มการย่อยได้ พัฒนาการของสัตว์และลดผลกระทบสารต้านโภชนะ (antinutrients) รักษาสุขภาพของลำไส้ นอกจากนี้ยังสามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรคในกระบวนการย่อยอาหารได้อีกด้วย การใช้เอนไซม์อาจใช้เตรียมแยกหรือเตรียมแบบผสม (Multienzyme) สำหรับการเจริญทุกระยะของสัตว์เคี้ยวเอื้องและที่ไม่ใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง (Velázquez-De Lucio, et al., 2021)

           หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเอนไซม์   (Robinson, 2015)    
เอนไซม์ทำปฏิกิริยากับสารตั้งต้น (Substrate) โดยทำปฏิกิริยากับสารตั้งต้นที่บริเวณก่อกัมมันต์ (active site) ที่มีรูปร่างคล้ายสารตั้งต้นทำให้ทำปฏิกิริยากันได้ ส่งผลให้เอนไซม์แต่ละชนิดมีความจำเพาะกับสารตั้งต้นแต่ละตัว 
          •    ทฤษฎีแม่กุญแจและลูกกุญแจ (Lock and key Theory) เสนอโดย Emil Fischer คือ เมื่อเอนไซม์รวมตัวกับสารตั้งต้นซึ่งอาจจับกันด้วยพันธะไฮโดรเจน หรือ พันธะไอออนิก หรือ พันธะโคเวเลนท์บริเวณก่อกัมมันต์กลายเป็นเอนไซม์ซับสเตรตเชิงซ้อน (enzyme substrate complex) ภายหลังจากทำปฏิกิริยาให้ผลิตภัณฑ์ (product) ออกมาและเอนไซม์เชิงซ้อนแยกออกมาได้เอนไซม์อิสระกลับคืนมา สมการปฏิกิริยาของเอนไซม์และสารตั้งต้นจะเป็นสมการที่ย้อนกลับ 

          •    ทฤษฎีเหนี่ยวนำให้เหมาะสม (Induced-fit Theory) เสนอโดย Koshland คือ เมื่อสารตั้งต้นจับกับเอนไซม์ที่บริเวณเร่งของเอนไซม์เหนี่ยวนำให้เอนไซม์เปลี่ยนรูปให้จับกับสารตั้งต้นและเกิดปฏิกิริยาได้ดีขึ้น สารที่ไม่ใช่สารตั้งต้นแต่มีรูปร่างคล้ายสามารถเข้าจับบริเวณเร่งของเอนไซม์ได้แต่ไม่สามารถชักนำให้อ็นไซม์เปลี่ยนโครงรูปให้เหมาะสมได้ ทำให้ไม่เกิดปฏิกิริยาและไม่ได้ผลผลิตออกมา

อ่านต่อ