Dark Mode :

(+66) 34 886148 156
Text Size :
TH EN

แสงต่อการผลิตสัตว์ปีก

          แสงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญและส่งผลต่อด้านการให้ผลผลิตของสัตว์ปีก สัตว์ปีกมองเห็นและรับรู้แสงได้ต่างกัน อีกทั้งแสงยังมีผลต่อสวัสดิภาพของสัตว์และการให้ผลผลิต โดยทั้งสองอย่างนี้อมีความเกี่ยวข้องกับอิทธิพลจากแสง ในระบบโรงเรือนสัตว์ปีก แสงส่งผลต่อพฤติกรรม การเจริญเติบโต สุขภาพ ประสิทธิภาพการผลิต การสืบพันธุ์ และสวัสดิภาพของสัตว์ปีก ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับแสงต่อสัตว์ปีก เช่น แหล่งกำเนิดแสง ระดับความเข้ม ระยะเวลา (ช่วงแสง) และสี (ความยาวคลื่น) ดังนั้นแสงในระบบโรงเรือนสัตว์ปีกจึงมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและสวัสดิภาพของสัตว์ (Lewis and Morris, 1998; Wineland, 2002)
          สัตว์ปีกมีความไวเชิงสเปกตรัม (spectral sensitivity) มากกว่าของมนุษย์ และสัตว์ปีกสามารถเห็นแสงสเปกตรัม UV ซึ่งแสง UV ประกอบด้วยความยาวคลื่นที่สั้นกว่า (100–400 นาโนเมตร) การรับรู้ภาพของเลนส์ตาของสัตว์ปีกต่อรังสีระหว่าง 320 และ 400 นาโนเมตร ช่วยให้พวกมันมองเห็นแสง UVA (Govardovskii and Zueva, 1977; Hart et al., 1999; Hunt et al., 2009) สเปกตรัมรังสี UVA ที่รับรู้จากเรตินาในสัตว์ปีกยังถูกส่งไปยัง ต่อมไพเนียล (Pineal gland) ที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน (Rosiak and Zawilska, 2005)
 

          สัตว์ปีกรับรู้สีความเข้มแสงที่ต่ำได้ดี รับรู้สีเป็นสิ่งสำคัญ ในตาไก่มี retina และมีตัวรับแสง (photoreceptors) โดยแบ่งเป็นชนิด cones 85% และ rods 15% ซึ่งในมนุษย์มี cones 5% และ rods 95% นั่นเป็นเหตุผลที่ไก่สามารถรับรู้สีได้ด้วยความเข้มแสง 8 ลักซ์ ผู้คนเริ่มรับรู้สีที่ 20 ลักซ์

          ช่วงความยาวแสงที่สั้น UV (320 และ 400 นาโนเมตร) จะช่วยในกระบวนการสังเคราะห์วิตามินดี กระตุ้นการกินได้ การเจริญเติบโต และระบบภูมิคุ้มกัน ส่วนช่วงความยาวแสงที่ยาว (700 นาโนเมตร) จะกระตุ้นฮอร์โมนเพศ ช่วยระบบการสืบพันธุ์ เพิ่มผลผลิตไข่ และกระตุ้นพฤติกรรมสัตว์ (El-Sabrout et al., 2022)
สเปกตรัมแสง (light spectrum) 
          ประสิทธิภาพการให้ผลผลิตและการสืบพันธุ์ของไก่ไข่ ขึ้นอยู่กับระยะเวลา ความเข้ม และคุณภาพของแสง ดังนั้นโปรแกรมการให้แสงจึงมีความสำคัญต่อการผลิตไก่ไข่ ปัจจุบันสามารถใช้ไฟ LED ที่ปล่อยแสงสีแดง น้ำเงิน หรือเขียว และสีขาว มีสเปกตรัม 400–700 นาโนเมตร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้ผลผลิต (England and Ruhnke, 2020) ผลของแสงต่อประสิทธิภาพการให้ผลผลิตไข่ พบว่าแสงสีแดงความยาวคลื่นแสง 618-660 ให้ผลผลิตไข่สูงกว่าแสงสีเขียว น้ำเงิน และขาว อย่างไรก็ตามในด้านคุณภาพไข่ยังสรุปไม่ได้ว่าแสงสีใดและความยาวคลื่นแสงเท่าไรมีผลต่อคุณภาพไข่ ดังตารางที่ 1 .
 

ตารางที่ 1. ผลของสเปกตรัมแสง (light spectrum) ต่อสมรรถนะการให้ผลผลิตและพฤติกรรมของไก่ไข่

พารามิเตอร์ แสงสีแดง แสงสีเขียว     แสงสีฟ้า

ระบบสืบพันธุ์และการให้ผลผลิตไข่

↑ความสมบูรณ์พันธุ์

↑ผลผลิตไข่

↑การผสมติด

↓ระบบการสืบพันธุ์ 

↓ผลผลิตไข่

↓ผลผลิตไข่

ขนาดและคุณภาพไข่

↓น้ำหนักไข่ หลังจากอายุ 30 สัปดาห์

↑น้ำหนักไข่

↑ความหนาเปลือกไข่เมื่อเทียบกับสีฟ้าและแดง

↑ความแข็งแรงเปลือกไข่เมื่อเทียบกับสีขาวและฟ้า

↑น้ำหนักไข่

↓ความยาวไข่ เมื่อเทียบกับสีอื่นๆ

↓ความกว้างไข่ เมื่อเทียบกับสีขาว

พฤติกรรม

↓กระวนกระวายเมื่อเทียบกับแสงสีขาวและไม่มีการจิกขนกัน

↓เวลาการให้อาหารเมื่อเทียบสีขาวและแดง

↑การหาอาหารเมื่อเทียบสีแดง

↑การจิกกันเมื่อเทียบสีขาว

สัตว์อยู่สงบกว่าแสงสีอื่นๆ

ที่มา: Bédécarrats and Hanlon (2017); Baxter et al. (2014); Wang et al. (2007); Huber-Eicher et al. (2013); Li et al. (2014)

 

          ปัจจัยแสงจึงมีความสำคัญอย่างการเจริญเติบโต สุขภาพ ประสิทธิภาพการผลิต การสืบพันธุ์ และสวัสดิภาพของสัตว์ปีก ปัจจุบันแหล่งกำเนิดแสงจากหลอด LED มีประสิทธิภาพและความยาวคลื่นแสงสูง อีกทั้งงานวิจัยในปัจจุบันพบว่าแสงสีแดงช่วยด้านระบบสืบพันธุ์และการให้ผลผลิตไข่  

 

เอกสารอ้างอิง
Gregoy Y. Bedecarrats and Charlene Hanlo. 2017. Effect of Lighting and Photoperiod on Chicken Egg Production and Quality. Egg Innovations and Strategies for Improvements. Edited by Patricia Y. Hester Department of Animal Sciences Purdue University. West LafayetteIN. United States.
Ashley England & Isabelle Ruhnke. 2020. The influence of light of different wavelengths on laying hen production and egg quality. World's Poultry Science Journal.