ในปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร มักจะใช้วิธีการผสมเทียมแม่สุกรมากกว่าการผสมแบบธรรมชาติ เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก และรวดเร็ว ช่วยทำให้ยีนดีจากพ่อพันธุ์แพร่กระจายได้เร็ว น้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ที่ดี 1 ตัวสามารถผสมแม่สุกรได้ 8-10 ตัว ช่วยแก้ปัญหาในด้านการผสมพันธุ์ เช่น ความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำ (Low fertility) ความไม่อยากผสมพันธุ์ (Low libido) หรือปัญหาเรื่องขาเสีย ขาอ่อน ขนาดของพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์ที่แตกต่างกัน แต่วิธีในการผสมเทียมต้องมีข้อระมัดระวัง คือ การผสมเทียมหากมีการปฏิบัติไม่ถูกต้อง หรือขาดการรักษาความสะอาด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ และที่สำคัญอาจจะส่งผลทำให้อัตราการผสมติดลดลงอีกด้วย
การผสมสุกรแม่พันธุ์ สามารถผสมเทียมสุกรแม่พันธุ์ มีหลักการในการผสม ดังนี้
การตรวจการเป็นสัด
ใช้พ่อพันธุ์ที่มีความคึกดี ตรวจ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเมื่อใช้น้ำหนักกดทับบริเวณหลัง และสะโพกสุกรจะแสดงอาการยืนนิ่ง แม่สุกรที่เป็นสัดจะแสดงอาการกระวนกระวายไม่นอน, กินอาหารลดลง, พยายามปีนขี่สุกรตัวข้างเคียง, อวัยวะเพศบวมแดงมีน้ำเมือกหล่อลื่นช่องคลอด (ดังแสดงในภาพที่ 1)
ขั้นตอนการผสมเทียม
เอกสารอ้างอิง
สำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์. 2563. การจับสัดและการผสมเทียมเบื้องต้น. คู่มือการผลิตน้ำเชื้อสุกร. กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ศูนย์วิจัยและพัฒนาสุกร (Swine Research and Development Center). 2561. การผสมเทียมสุกร.สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์.
สุวรรณา พรหมทอง. การผสมเทียมสุกร. การทำฟาร์มสุกร (SWINE FARM MANAGEMENT). สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.