Dark Mode :

(+66) 34 886148 156
Text Size :
TH EN

2024-01-04

วิธีการผสมเทียมแม่สุกร (Artificial Insemination in Swine)

        ในปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร มักจะใช้วิธีการผสมเทียมแม่สุกรมากกว่าการผสมแบบธรรมชาติ เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก และรวดเร็ว ช่วยทำให้ยีนดีจากพ่อพันธุ์แพร่กระจายได้เร็ว น้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ที่ดี 1 ตัวสามารถผสมแม่สุกรได้ 8-10 ตัว ช่วยแก้ปัญหาในด้านการผสมพันธุ์ เช่น ความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำ (Low fertility) ความไม่อยากผสมพันธุ์ (Low libido) หรือปัญหาเรื่องขาเสีย ขาอ่อน ขนาดของพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์ที่แตกต่างกัน แต่วิธีในการผสมเทียมต้องมีข้อระมัดระวัง คือ การผสมเทียมหากมีการปฏิบัติไม่ถูกต้อง หรือขาดการรักษาความสะอาด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ และที่สำคัญอาจจะส่งผลทำให้อัตราการผสมติดลดลงอีกด้วย

การผสมสุกรแม่พันธุ์   สามารถผสมเทียมสุกรแม่พันธุ์ มีหลักการในการผสม ดังนี้

  • แม่สุกรสาว ควรผสมทันทีที่พบการเป็นสัด และทำการผสมซ้ำหลังจากผสมรอบแรก 12 ชั่วโมง 
  • แม่สุกรนาง ควรผสมครั้งแรกหลักจากตรวจพบอาการเป็นสัด (ยืนนิ่ง) แล้ว 12 ชั่วโมง จากนั้นจึงผสมซ้ำหลังจากผสมรอบแรก 12 ชั่วโมง 

การตรวจการเป็นสัด 

        ใช้พ่อพันธุ์ที่มีความคึกดี ตรวจ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเมื่อใช้น้ำหนักกดทับบริเวณหลัง และสะโพกสุกรจะแสดงอาการยืนนิ่ง แม่สุกรที่เป็นสัดจะแสดงอาการกระวนกระวายไม่นอน, กินอาหารลดลง, พยายามปีนขี่สุกรตัวข้างเคียง, อวัยวะเพศบวมแดงมีน้ำเมือกหล่อลื่นช่องคลอด (ดังแสดงในภาพที่ 1)

ขั้นตอนการผสมเทียม

  1. การผสมเทียมเริ่มโดยการทำความสะอาดบริเวณปากช่องคลอดด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือ (ดังแสดงในภาพที่ 2)
  2. สอดท่อผสมเทียมเข้าไปเอียงทำมุม 45 องศากับแนวนอน เพื่อป้องกันไม่ให้ท่อผสมเทียมเข้าไปในท่อปัสสาวะ ซึ่งการสอดท่อผสมเทียมจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา เพื่อให้เกลี่ยวของท่อผสมเทียมเข้าไปล็อคอยู่ที่บริเวณคอมดลูก (ดังแสดงในภาพที่ 3)
  3. ลองดึงออกเบาๆ จะรู้สึกว่าติดหนึบ ๆ แสดงว่าท่อผสมเทียมล็อคที่บริเวณคอมดลูกแล้ว หลังจากนั้นต่อหลอดน้ำเชื้อเข้ากับปลายท่อผสมเทียม ระยะเวลาที่ปล่อยน้ำเชื้อให้หมดใช้ระยะเวลา 3-5 นาที (ดังแสดงในภาพที่ 4)
  4. ปล่อยให้น้ำเชื้อถูกดูดเข้าร่วมกับการกระตุ้นแม่สุกรในขณะผสมเทียม เช่น ใช้พ่อสุกรมายืนอยู่ด้านหน้ากรงของแม่สุกร เพื่อให้แม่สุกรได้กลิ่น ได้เห็น และได้ยินเสียงของพ่อสุกร จะทำให้แม่สุกรยืนนิ่ง และหลั่งฮอร์โมนออกซีโตซิน (Oxytocin) ออกมาเพื่อทำให้กล้ามเนื้อมดลูกเกิดการบีบตัวดูดเอาน้ำเชื้อเข้าไปยังมดลูก
  5. อาจจะมีการใช้กระสอบบรรจุทรายหนัก 10-15 กก. วางทับหลังแม่สุกรขณะผสม หรือให้คนขึ้นนั่งขณะผสม และควรใช้มือลูบที่บริเวณสีข้าง หรือราวนมไปมาช้า ๆ เพื่อกระตุ้นการบีบตัวของมดลูก หลังจากน้ำเชื้อหมดหลอดให้คาท่อผสมเทียมไว้ 10-15 นาที แล้วค่อยดึงออก
อ่านต่อ





2024-01-20

การจัดการความเครียดที่เกิดจากความร้อนในแม่สุกร

          ปัญหาสภาวะอากาศร้อนส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์เป็นอย่างมาก ทำให้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิต ประสิทธิภาพในการสืบพันธุ์ เป็นสัดเงียบเพิ่มขึ้น ระยะการหย่านม-ผสมนานขึ้น อัตราการคลอดลดลง และขนาดครอกลดลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักมีผลมาจากความเครียดที่เกิดจากความร้อน (Heat stress) โดยความร้อน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

 

          ความร้อนจากภายนอกร่างกาย  คือ ความร้อนจากสภาพอากาศ หรือความร้อนจากสภาพแวดล้อมภายนอกแพร่เข้ามาภายในโรงเรือน ทำให้แพร่รังสีความร้อนเข้าสะสมในตัวหมู
          ความร้อนจากภายในร่างกาย  คือ ความร้อนจากการเผาผลาญสารอาหารในกระบวนการเมแทบอลิซึม
ภายในร่างกาย เพื่อให้ได้เป็นพลังงานในแม่สุกร ก่อให้เกิดความร้อนภายในร่างกายได้ และหากแม่สุกรกินอาหารมากจนเกินไปอาจจะก่อให้เกิดความร้อนสูงภายในร่างกาย และส่งผลทำให้เกิดอาการแท้งได้ นอกจากนี้การเผาผลาญสารอาหารในลูกสุกรภายในท้องยิ่งแม่สุกรใกล้คลอดลูกสุกรก็จะต้องการสารอาหารมากขึ้นเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ทำให้ความร้อนจากการเมทาบอลิซึมสูงขึ้นตามไปด้วย โดยความร้อนที่เกิดขึ้นภายในตัวลูกสุกรจะถูกถ่ายทอดมายังตัวแม่สุกร เพื่อขับออก ทำให้แม่สุกรมีอาการหอบ 

         ซึ่งความร้อนที่เกิดจากภายนอก และภายในร่างกายของแม่สุกร เมื่อมีการสะสมมากๆในร่างกาย จะส่งผล
ทำให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ทัน ทำให้แม่สุกรเกิดความเครียดจากความร้อน ทำให้ส่งผลเสียต่อ
การผลผลิตในแม่สุกรได้ ดังนี้

แม่สุกรช่วงก่อนผสม

  • แม่สุกรไม่เป็นสัดหลังหย่านม มีอาการเป็นสัดแต่ไม่แสดงอาการ ระยะการเป็นสัดสั้นลง เนื่องจากความเครียดที่เกิดจากความร้อน
  • ระยะหย่านม-ผสมนานขึ้น เนื่องจากการทำงานของรังไข่ลดลง
  • วงรอบการเป็นสัดนานขึ้น อัตราการตกไข่ลดลง เป็นผลมาจากการกินอาหารของแม่สุกรลดลง

แม่สุกรช่วงหลังจากผสม

  • ระยะแรกของการอุ้มท้อง หากแม่สุกรมีความเครียดในช่วง 1-2 วัน จะส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการผสมลดลง ทำให้ตัวอ่อนตายหลังผสมเพิ่มขึ้น
  • ระยะผสม-อุ้มท้อง 8 วัน และระยะฝังตัวของตัวอ่อน (9-16 วัน) หากแม่สุกรเกิดความเครียดจากความร้อนจะส่งผลทำให้เกิดการแท้ง แม่สุกรกลับสัดหลังจากผสม และมีการแสดงอาการเป็นสัดเงียบเพิ่มขึ้น (Silent heat)
  • ช่วงระยะกลางของการอุ้มท้อง (หลังจากผสม 3 สัปดาห์ - 3เดือน) แม่สุกรจะมีความทนทานต่อความเครียด แต่ความร้อนที่สูงอาจจะยังส่งผลทำให้เกิดอาการแท้งได้เช่นกัน
  • ระยะท้ายของการอุ้มท้อง (2 สัปดาห์ก่อนคลอด) ลูกสุกรมีโอกาสตายก่อนคลอดได้ เนื่องจากสภาพอากาศ และอุณหภูมิที่สูง ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ลูกสุกรมีน้ำหนักแรกคลอด และน้ำหนักคลอดลดลง และความร้อนยังมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในน้ำนมแม่สุกรลดลงอีกด้วย 
  • ระยะเลี้ยงลูก แม่สุกรที่ได้รับความเครียดจากความร้อนอาจต้องมีการใช้ระยะเวลาในการคลอดนาน มีผลทำให้อัตราการตายหลังคลอดสูงขึ้น แม่สุกรผลิตน้ำนมได้ลดลง และยังส่งผลทำให้การกินอาหารของแม่สุกรลดลง
อ่านต่อ





2024-01-04

วิธีการผสมเทียมแม่สุกร (Artificial Insemination in Swine)

        ในปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร มักจะใช้วิธีการผสมเทียมแม่สุกรมากกว่าการผสมแบบธรรมชาติ เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก และรวดเร็ว ช่วยทำให้ยีนดีจากพ่อพันธุ์แพร่กระจายได้เร็ว น้ำเชื้อจากพ่อพันธุ์ที่ดี 1 ตัวสามารถผสมแม่สุกรได้ 8-10 ตัว ช่วยแก้ปัญหาในด้านการผสมพันธุ์ เช่น ความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำ (Low fertility) ความไม่อยากผสมพันธุ์ (Low libido) หรือปัญหาเรื่องขาเสีย ขาอ่อน ขนาดของพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์ที่แตกต่างกัน แต่วิธีในการผสมเทียมต้องมีข้อระมัดระวัง คือ การผสมเทียมหากมีการปฏิบัติไม่ถูกต้อง หรือขาดการรักษาความสะอาด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ และที่สำคัญอาจจะส่งผลทำให้อัตราการผสมติดลดลงอีกด้วย

การผสมสุกรแม่พันธุ์   สามารถผสมเทียมสุกรแม่พันธุ์ มีหลักการในการผสม ดังนี้

  • แม่สุกรสาว ควรผสมทันทีที่พบการเป็นสัด และทำการผสมซ้ำหลังจากผสมรอบแรก 12 ชั่วโมง 
  • แม่สุกรนาง ควรผสมครั้งแรกหลักจากตรวจพบอาการเป็นสัด (ยืนนิ่ง) แล้ว 12 ชั่วโมง จากนั้นจึงผสมซ้ำหลังจากผสมรอบแรก 12 ชั่วโมง 

การตรวจการเป็นสัด 

        ใช้พ่อพันธุ์ที่มีความคึกดี ตรวจ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเมื่อใช้น้ำหนักกดทับบริเวณหลัง และสะโพกสุกรจะแสดงอาการยืนนิ่ง แม่สุกรที่เป็นสัดจะแสดงอาการกระวนกระวายไม่นอน, กินอาหารลดลง, พยายามปีนขี่สุกรตัวข้างเคียง, อวัยวะเพศบวมแดงมีน้ำเมือกหล่อลื่นช่องคลอด (ดังแสดงในภาพที่ 1)

ขั้นตอนการผสมเทียม

  1. การผสมเทียมเริ่มโดยการทำความสะอาดบริเวณปากช่องคลอดด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือ (ดังแสดงในภาพที่ 2)
  2. สอดท่อผสมเทียมเข้าไปเอียงทำมุม 45 องศากับแนวนอน เพื่อป้องกันไม่ให้ท่อผสมเทียมเข้าไปในท่อปัสสาวะ ซึ่งการสอดท่อผสมเทียมจะหมุนทวนเข็มนาฬิกา เพื่อให้เกลี่ยวของท่อผสมเทียมเข้าไปล็อคอยู่ที่บริเวณคอมดลูก (ดังแสดงในภาพที่ 3)
  3. ลองดึงออกเบาๆ จะรู้สึกว่าติดหนึบ ๆ แสดงว่าท่อผสมเทียมล็อคที่บริเวณคอมดลูกแล้ว หลังจากนั้นต่อหลอดน้ำเชื้อเข้ากับปลายท่อผสมเทียม ระยะเวลาที่ปล่อยน้ำเชื้อให้หมดใช้ระยะเวลา 3-5 นาที (ดังแสดงในภาพที่ 4)
  4. ปล่อยให้น้ำเชื้อถูกดูดเข้าร่วมกับการกระตุ้นแม่สุกรในขณะผสมเทียม เช่น ใช้พ่อสุกรมายืนอยู่ด้านหน้ากรงของแม่สุกร เพื่อให้แม่สุกรได้กลิ่น ได้เห็น และได้ยินเสียงของพ่อสุกร จะทำให้แม่สุกรยืนนิ่ง และหลั่งฮอร์โมนออกซีโตซิน (Oxytocin) ออกมาเพื่อทำให้กล้ามเนื้อมดลูกเกิดการบีบตัวดูดเอาน้ำเชื้อเข้าไปยังมดลูก
  5. อาจจะมีการใช้กระสอบบรรจุทรายหนัก 10-15 กก. วางทับหลังแม่สุกรขณะผสม หรือให้คนขึ้นนั่งขณะผสม และควรใช้มือลูบที่บริเวณสีข้าง หรือราวนมไปมาช้า ๆ เพื่อกระตุ้นการบีบตัวของมดลูก หลังจากน้ำเชื้อหมดหลอดให้คาท่อผสมเทียมไว้ 10-15 นาที แล้วค่อยดึงออก
อ่านต่อ





2024-01-20

การจัดการความเครียดที่เกิดจากความร้อนในแม่สุกร

          ปัญหาสภาวะอากาศร้อนส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์เป็นอย่างมาก ทำให้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิต ประสิทธิภาพในการสืบพันธุ์ เป็นสัดเงียบเพิ่มขึ้น ระยะการหย่านม-ผสมนานขึ้น อัตราการคลอดลดลง และขนาดครอกลดลง ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักมีผลมาจากความเครียดที่เกิดจากความร้อน (Heat stress) โดยความร้อน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

 

          ความร้อนจากภายนอกร่างกาย  คือ ความร้อนจากสภาพอากาศ หรือความร้อนจากสภาพแวดล้อมภายนอกแพร่เข้ามาภายในโรงเรือน ทำให้แพร่รังสีความร้อนเข้าสะสมในตัวหมู
          ความร้อนจากภายในร่างกาย  คือ ความร้อนจากการเผาผลาญสารอาหารในกระบวนการเมแทบอลิซึม
ภายในร่างกาย เพื่อให้ได้เป็นพลังงานในแม่สุกร ก่อให้เกิดความร้อนภายในร่างกายได้ และหากแม่สุกรกินอาหารมากจนเกินไปอาจจะก่อให้เกิดความร้อนสูงภายในร่างกาย และส่งผลทำให้เกิดอาการแท้งได้ นอกจากนี้การเผาผลาญสารอาหารในลูกสุกรภายในท้องยิ่งแม่สุกรใกล้คลอดลูกสุกรก็จะต้องการสารอาหารมากขึ้นเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต ทำให้ความร้อนจากการเมทาบอลิซึมสูงขึ้นตามไปด้วย โดยความร้อนที่เกิดขึ้นภายในตัวลูกสุกรจะถูกถ่ายทอดมายังตัวแม่สุกร เพื่อขับออก ทำให้แม่สุกรมีอาการหอบ 

         ซึ่งความร้อนที่เกิดจากภายนอก และภายในร่างกายของแม่สุกร เมื่อมีการสะสมมากๆในร่างกาย จะส่งผล
ทำให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ทัน ทำให้แม่สุกรเกิดความเครียดจากความร้อน ทำให้ส่งผลเสียต่อ
การผลผลิตในแม่สุกรได้ ดังนี้

แม่สุกรช่วงก่อนผสม

  • แม่สุกรไม่เป็นสัดหลังหย่านม มีอาการเป็นสัดแต่ไม่แสดงอาการ ระยะการเป็นสัดสั้นลง เนื่องจากความเครียดที่เกิดจากความร้อน
  • ระยะหย่านม-ผสมนานขึ้น เนื่องจากการทำงานของรังไข่ลดลง
  • วงรอบการเป็นสัดนานขึ้น อัตราการตกไข่ลดลง เป็นผลมาจากการกินอาหารของแม่สุกรลดลง

แม่สุกรช่วงหลังจากผสม

  • ระยะแรกของการอุ้มท้อง หากแม่สุกรมีความเครียดในช่วง 1-2 วัน จะส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการผสมลดลง ทำให้ตัวอ่อนตายหลังผสมเพิ่มขึ้น
  • ระยะผสม-อุ้มท้อง 8 วัน และระยะฝังตัวของตัวอ่อน (9-16 วัน) หากแม่สุกรเกิดความเครียดจากความร้อนจะส่งผลทำให้เกิดการแท้ง แม่สุกรกลับสัดหลังจากผสม และมีการแสดงอาการเป็นสัดเงียบเพิ่มขึ้น (Silent heat)
  • ช่วงระยะกลางของการอุ้มท้อง (หลังจากผสม 3 สัปดาห์ - 3เดือน) แม่สุกรจะมีความทนทานต่อความเครียด แต่ความร้อนที่สูงอาจจะยังส่งผลทำให้เกิดอาการแท้งได้เช่นกัน
  • ระยะท้ายของการอุ้มท้อง (2 สัปดาห์ก่อนคลอด) ลูกสุกรมีโอกาสตายก่อนคลอดได้ เนื่องจากสภาพอากาศ และอุณหภูมิที่สูง ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ลูกสุกรมีน้ำหนักแรกคลอด และน้ำหนักคลอดลดลง และความร้อนยังมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในน้ำนมแม่สุกรลดลงอีกด้วย 
  • ระยะเลี้ยงลูก แม่สุกรที่ได้รับความเครียดจากความร้อนอาจต้องมีการใช้ระยะเวลาในการคลอดนาน มีผลทำให้อัตราการตายหลังคลอดสูงขึ้น แม่สุกรผลิตน้ำนมได้ลดลง และยังส่งผลทำให้การกินอาหารของแม่สุกรลดลง
อ่านต่อ





2024-02-26

การยกระดับฟาร์มสุกรด้วยระบบ GFM (Good farming management)

Good farming management (GFM) คืออะไร ???
     การจัดการฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม เป็นการยกระดับและผลักดันให้ฟาร์มปศุสัตว์การเลี้ยงสุกรรายย่อย จำนวนสุกร 1-50 ตัว และรายเล็ก จำนวนสุกร 51-500 ตัว ให้มีระบบการป้องกันโรคและการจัดการที่ดี โดยมีพื้นฐานการเลี้ยงสัตว์ตามมาตรา 7 แห่งพรบ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 โดยระบบ GFM ช่วยลดความสูญเสียของเกษตรกรจากปัญหาโรคระบาด ผลผลิตดี และมีคุณภาพ

ทำ GFM แล้วได้อะไร ???

  • ระบบการป้องกันโรค: ช่วยลดปัญหาโรคระบาดและลดปัญหาการดื้อยา ด้วยระบบ Biosecurity และการจัดการสุขภาพสัตว์
  • การตรวจสอบย้อนกลับ: เพื่อความเชื่อมั่นในความปลอดภัยทางอาหาร โดยวิธีการจัดทำข้อมูลทะเบียนฟาร์ม ข้อมูลสัตว์ ข้อมูลสุขภาพสัตว์ ข้อมูลบุคคลและยานพาหนะเข้า-ออก
  • การเพิ่มผลผลิต: ปริมาณและคุณภาพของผลผลิตเพิ่มสูงขึ้น เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีอาชีพที่มีความมั่นคงและยั่งยืน
  • การจ่ายค่าชดเชย: ในกรณีที่ฟาร์มมีการซื้อสุกรเขาฟาร์มและพบการติดเชื้อ หากรักษาไม่หายต้องมีการควบคุมโรค หรือต้องมีการทำลายสุกรทิ้ง ฟาร์มที่ได้รับ GFM จะสามารถได้รับการจ่ายค่าชดเชย

หลักการจัดการฟาร์มตามระบบ GFM

>> พื้นที่เลี้ยงและโครงสร้าง

  • ฟาร์มตั้งอยู่ห่างจากโรงฆ่าสัตว์ หรือตลาดนัดสัตว์ อย่างน้อย 500 เมตร
  • คอกสุกรต้องมีเนื้อที่เพียงพอต่อจำนวนสุกร เพื่อลดความแออัดและพื้นที่เลี้ยงควรแยกจากที่พักอาศัย
  • มีรั้ว หรือการจัดการที่สามารถป้องกันคนและยานพาหนะเข้าพื้นที่เลี้ยงสุกร
  • มีป้ายเตือน “ห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต” ที่ประตูทางเข้าพื้นที่เลี้ยงสุกร
  • ก่อนเข้าโรงเรือนเลี้ยงสุกรต้องมีการอาบน้ำ เปลี่ยนชุดและรองเท้าก่อนเข้าฟาร์มเลี้ยงสุกร
  • มีบ่อน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนเข้าโรงเรือนเลี้ยงสุกร
  • มีพื้นที่สำหรับกักสุกรที่รับมาใหม่ ก่อนเข้าพื้นที่เลี้ยงเดิมและมีพื้นที่สำหรับแยกสุกรป่วยออกจากฝูง
  • มีพื้นที่สำหรับขายสุกรบริเวณนอกพื้นที่เลี้ยงสุกร

>> การจัดการด้านสุขภาพ

  • สุกรที่นำมาเลี้ยงใหม่ต้องทราบแหล่งที่มา หรือมีการกักโรคก่อนนำเข้ารวมฝูงอย่างน้อย 14 วัน
  • มีการถ่ายพยาธิ การฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย อหิวาห์สุกร และโรคอื่นตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด
  • ไม่ใช้พ่อพันธุ์ร่วมกับฟาร์มอื่นๆ ในกรณีที่มีการใช้การผสมเทียมต้องมีการนำเชื้อมาจากแหล่งที่มีการรับรองจากกรมปศุสัตว์
  • เมื่อสุกรป่วย ตายด้วยโรคระบาด สงสัยว่าเป็นโรค หรือไม่ทราบสาเหตุการตายให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทันที ตามมาตราการป้องกันโรค ASF ห้ามมีการขายซาก และชำแหละซากเป็นอาหาร จึงต้องมีการจัดการซากสุกรอย่างเหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของโรคและโอกาสที่เชื้อจะปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม เช่น
    •  การเผา : ต้องเผาซากจนหมดกลายเป็นขี้เถ้า และทำการแช่ขี้เถ้าด้วยโซดาไฟ 1 คืนก่อนทิ้ง เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค
    •  การทิ้งซากสุกร : ควรมีวัสดุปูรอง และมีฝาปิดมิดชิด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม 
    • การฝังกลบซากสุกร : พื้นที่ใช้ในการฝังกลบต้องเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมไปถึง ต้องฝังกลบความลึกที่กำหนด คือ เหนือระดับน้ำทะเล 1 เมตร ซากทับซ้อนกันสูงไม่เกิน 2.5 เมตร ฝังกลบด้วยดินสูง 50 ซม. และกลบด้วยดินด้านบนอีก 50 ซม.  ซึ่งต้องมีการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อและโรยปูนขาว เพื่อเป็นการลดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม

>> การจัดการอาหาร น้ำและยาสัตว์

  • มีการจัดเก็บอาหารที่สะอาด แห้ง ไม่อับชื้น ต้องไม่มีรา หรือมีวัตถุเป็นอันตรายต่อสัตว์ที่ปนเปื้อน ในอาหาร สามารถการเสื่อมสภาพของอาหารสัตว์ และป้องกันสัตว์พาหะนำโรคได้
  • มีการจัดเก็บ รักษาคุณภาพของวัคซีนและยารักษาโรคอย่างเหมาะสม
  • มีการใช้ยา วิตามิน หรือผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อสำหรับสุกรที่มีทะเบียนอย่างถูกต้อง
  • มีการใช้ยารักษาโรคภายใต้คำแนะนำของสัตว์แพทย์

>> การจัดข้อมูล

  • มีการจดบันทึกข้อมูลการดูแลสุขภาพสัตว์
  • มีการบันทึกข้อมูลการผลิต และผลผลิต
  • มีการจดบันทึกข้อมูลบุคคล และยาพาหนะเข้าออก
อ่านต่อ





2024-02-26

“18 Week Wall” กำแพงการเจริญเติบโตของสุกร

        การผลิตสุกรในปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ตลอดจนการปรับระบบการจัดการใหม่เพื่อการกำจัดและควบคุมโรคต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามแม้จะมีการพัฒนาปรับปรุง แต่เหล่าผู้ผลิตสุกรและสัตวแพทย์ยังต้องพบเจอกับปัญหาจากโรคและประสิทธิภาพที่แย่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหาจากโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งเพิ่มต้นทุนการผลิตและความยุ่งยากสำหรับผู้ผลิตและผู้ปฏิบัติงาน แม้จะมีเทคโนโลยีการจัดการใหม่ๆ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อโรค โฮสต์ และสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นแล้วก็ตาม

        ปัญหาจากโรคทางระบบหายใจที่ยังไม่มีใครสามารถระบุสาเหตุของมันเองได้ชัดเจน กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรจึงเรียกแทนภาวะนี้ว่า Porcine Respiratory Disease Complex หรือ PRDC (ดังแสดงในภาพที่ 1) ซึ่งมักเกิดจากสาเหตุหลายปัจจัยร่วมกัน ทั้งไวรัส และแบคทีเรีย รวมทั้งสิ่งแวดล้อมและการจัดการ ทำให้เกิดอาการทางระบบหายใจ หลังย้ายเข้ามาในส่วนเลี้ยงสุกรขุน ซึ่งมักเรียกแทนว่าเป็น “18 to 20 week wall” และทำให้ประสิทธิภาพลดลงอย่างชัดเจน เมื่อมีการระบาดของ PRDC เกิดขึ้น จะพบว่าสุกรโตช้าและไม่สม่ำเสมอ อัตราการตายและการคัดทิ้งเพิ่มสูงขึ้น ประสิทธิภาพการให้อาหารลดลงจำนวนวันเลี้ยงเพิ่มขึ้น และต้นทุนในการรักษาเพิ่มขึ้น โดยมีรายงานว่า PRDC สามารถทำให้อัตราการป่วยถึง 70% โดยอัตราการตายระหว่าง 4-6% 

        PRDC มักเกิดจากการทำงานร่วมกันของเชื้อโรคทั้งไวรัสและแบคทีเรีย โดยอาการจะรุนแรงขึ้น เมื่อสภาพแวดล้อมและการจัดการไม่เหมาะสม โดยมักเกี่ยวข้องกับไวรัสจำพวก Porcine reproductive and respiratory syndrome (PRRS), Porcine circovirus type 2 (PCV2), Swine influenza (SIV), Pseudorabies virus (PRV, AD), และ Porcine respiratory corona virus (PRCV) โดยไวรัสเหล่านี้จะร่วมกับแบคทีเรียหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งชนิด ซึ่งแบคทีเรียที่เกี่ยวกับ PRDC จะแบ่งเป็นเชื้อปฐมภูมิ (Primary bacteria) และเชื้อทุติยภูมิ (Secondary bacteria) ดังแสดงในตารางที่ 1

อ่านต่อ